ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เสาหลักหก คลองภาษีเจริญ


ผมได้ยินเรื่องเสาหินหลักคลองดำเนินสะดวกมาบ่อยครั้งแต่ก็ทราบเพียงคร่าวๆ เคยเห็นรูปตามหนังสือต่างๆ ประปรายจนวันหนึ่งกลางปี 2556 ผมได้อ่านหนังสือชื่อ "เกาะสมุย-สงขลา-ระโนด-กระทุ่มแบน" ของ อ.เอนก นาวิกมูล และได้พูดคุยกับอาจารย์ ทำให้ได้ทราบและเห็น ภาพเสาหลักคลองภาษีเจริญ ในพื้นที่กระทุ่มแบนเป็นครั้งแรก แต่ก็ยังไม่เคยเห็นเสาหินจริงๆ


ผมกลับบ้านไปถามพ่อ พ่อผมทราบแต่ว่ามีย่านนึงแถวที่เค้าเรียกกันว่า "หลักหก" แต่พ่อเองก็ไม่เคยเห็น


จนเมื่อมีจังหวะโอกาสในวันที่ 1 ม.ค. 2557 ผมได้ชวนพ่อไปตามดูหลักหินนี้กัน ตามหากันพักหนึ่งเพราะลืมนำข้อมูลในหนังสือมาเป็นข้อมูล แต่สุดท้ายก็พบเสาหินหลักคลองดังกล่าว


เสาหินหลักคลองนี้ตั้งอยู่ภายในรั้วบ้านหลังหนึ่งใกล้กับสะพานวัดดอนไก่ดีเจ้าของบ้านคือลุงนิคม และป้าแอ๊ด ซึ่งเป็นพี่สาวของเพื่อนพ่อผมเลยพอจะคุ้นหน้ากันอยู่บ้าง ท่านเลยเปิดประตูรั้วบ้านให้เข้าไปดูและพบเสาหินหลักคลองดังกล่าว


คุณลุงเล่าว่า เดิมทีเสานี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในรั้วบ้าน ตอนที่มาซื้อที่ปลูกบ้านก็เห็นมันล้มลงอยู่ริมคลอง เลยนำขยับเข้ามาในบริเวณรั้วบ้าน แต่ยังคงอยู่ตำแหน่งที่ใกล้เคียงของเดิม


ผมเข้าไปถ่ายภาพเพื่อเก็บเป็นข้อมูล คุณลุงช่วยแหวกพุ่มไม้ที่อยู่ใกล้ๆ ออก เพื่อให้ถ่ายได้เห็นชัดขึ้น


สภาพเสายังอยู่ในสภาพที่ดีมากเลยครับ ที่เสามีการแกะสลักอักษรไว้แต่ดูไม่ค่อยชัด เห็นชัดๆ เพียงตัวเลขไทยว่า ๖๐๐

หลังจากนั้นผมก็ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือของ อ.เอนก นาวิกมูล อีกเช่นกัน คือหนังสือที่ชื่อว่า "เชียงใหม่-ระยอง-หลักสอง-ผักไห่" ซึ่งท่านที่สนใจลองไปหามาอ่านเพิ่มเติมครับ ซึ่งจากการอ่านหนังสือดังกล่าวและข้อมูลที่ได้คุยกับลุงนิคม พอที่จะสรุปได้ดังนี้ครับ


เสาหลักคลองดังกล่าวเป็นหลักบอกระยะทางคลองภาษีเจริญ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยจะมีหลักปักอยู่ทุกๆ ระยะทาง 100 เส้น (4 กิโลเมตร) โดยเริ่มตั้งแต่ หลักศูนย์ ที่ประตูน้ำภาษีเจริญ ปากน้ำ จนถึงหลัก 6 แต่ลุงนิคม และผู้ใหญ่บางท่านก็เล่ากันว่าเคยเห็นหลักเจ็ด อยู่แถวๆ ประตูน้ำกระทุ่มแบน แต่ล้มหล่นหายไปในบริเวณคลองที่เชื่อมต่อแม่น้ำท่าจีนแล้ว ทำให้ไม่ทราบแน่ชัดว่าใช่หลักเจ็ดจริงหรือไม่ เพราะหากคำนวนระยะการปักเสาทุกๆ 100 เส้น หรือทุกๆ 4 กิโลเมตรนั้น จะเกินระยะความยาวคลองภาษีเจริญคือ 24.8 กิโลเมตร และเสาหลักคลองนี้ อ.เอนกได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าจะตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของคลอง เมื่อมองจากกรุงเทพฯ ออกไปยังปลายคลองย่านประตูน้ำกระทุ่มแบนที่เชื่อมต่อแม่น้ำท่าจีน


บนหน้าเสาหินหลักหกนี้มองเห็นชัดเจนเพียงข้อความเลข  ๖๐๐ ส่วนภาษาจีนนั้นพอเห็นลางๆ ไม่ชัดเจนแต่เมื่อเปรียบเทียบกับเสาหลักต้นอื่นตามที่ อ.เอนก นาวิกมูลได้ ไปสำรวจนั้น ก็พอจะสรุปได้ว่าที่หน้าเสานี้จะมีตัวหนังสือ 4 บรรทัด จากบนลงล่างคือ 


  • บรรทัดบนสุด ข้อความภาษาไทยว่า "หกร้อยเส้น"
  • บรรทัดที่ 2 เป็นภาษาจีน ซึ่งเสานี้มองเห็นไม่ชัด แต่ผมลองเทียบกับข้อมูลในหนังสือดังกล่่าว น่าจะเป็นข้อความที่มีความหมายว่า "หกร้อยเส้น" 
  • บรรทัดที่ 3 เป็นข้อความภาษาอังกฤษ "SIX HUNDRED SENS" ซึ่งเสานี้มองเห็นไม่ชัด
  • บรรทัดที่ 4 เป็นตัวเลขไทย "๖๐๐"



นอกจากนี้ ยังมีเสาหลักคลองอื่นๆ ที่ อ.เอนก ได้ลองคำนวนระยะทางแล้ว ประกอบกับข้อมูลที่ลุงนิคมเล่าให้ฟังสรุปได้ว่ามีเสาหลักคลองต้นอืนๆ ที่อยู่ในพื้นที่กระทุ่มแบนจำนวน 3 ต้น คือ


  • หลักสี่ อยู่ย่านวัดใหม่หนองพะอง ในรั้วบ้านริมคลองหลังหนึ่ง
  • หลักห้า น่าจะอยู่ช่วงประมาณค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน แต่ยังไม่พบ 
  • หลักหก อยู่ในรั้วบ้านลุงนิคม ใกล้กับสะพานวัดดอนไก่ดี

บันทึกเมื่อ 6 มกราคม 2557
แก้ไขเรื่องการพบหลักสี่เมื่อราวปี 2558-2559 (แก้ไขโพสต์ 20-09-2560)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วัดนางสาวมีโบสถ์ มหาอุด หรือ มหาอุตม์ เขียนแบบไหน?

โบสถ์มหาอุด วัดนางสาว ถ่ายเมื่อ 1 ม.ค. 2562 คงเป็นเรื่องเหลือเชื่อถ้าบอกว่าเป็นคนกระทุ่มแบนแต่ไม่รู้จักวัดนางสาว เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนา มีตำนานเรื่องเล่ามากมายหลากหลายเรื่อง รวมถึงโบสถ์อันศักดิ์สิทธิ์และพิเศษกว่าหลายๆ โบสถ์ของวัดในเมืองไทย ส่วนประวัติวัดนางสาว และเรื่องราวประกอบอื่นๆ ผมคงได้รวบรวมข้อมูล ประวัติต่างๆ เพื่อเขียนให้ได้อ่านกันในบทความถัดๆ ไป ในตอนนี้ขอกล่าวถึง โบสถ์หรืออุโบสถที่วัดนางสาว  อายุเก่าแก่กว่า 400 ปี ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลหรือพะไลยื่นออกมา 1 ห้อง (พาไลหรือพะไล แปลว่า เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน)  มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาจำนวน 4 ต้น ช่อฟ้าใบระกาเป็นปูนปั้นประดับกระจก ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูเข้าออกด้านหน้าเพียงประตูเดียว ไม่มีหน้าต่าง ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมใหม่โดยปูหินอ่อนภายใน มีลายจิตรกรรมฝาผนัง ด้านผนังนอกมีการปรับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาที่มี

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ &quo