ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2022

ขุนพิทักษ์ชลาศัย (พิทักษ์ คเชนทร์ชัย) ลูกศิษย์ครูฮวด ร.ร.สุระวิทยา

            ผมตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้พบหนังสืออนุสรณ์ของคนกระทุ่มแบนรุ่นเก่าๆ เพราะจะได้มีโอกาสอ่านประวัติของท่านเหล่านั้นที่ได้รับการตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ และเล่มนี้ก็เป็นอีกเล่มหนึ่งที่ตื่นเต้นเพราะไม่เคยคุ้นชื่อหรือนามสกุลท่านมาก่อน ด้วยคนกระทุ่มแบนหลายคนก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หรือมีเหตุปัจจัยอื่นจึงมีการย้ายถิ่นฐานไปยังจังหวัดต่างๆ บางครั้งไม่มีลูกหลานหลงเหลืออยู่ในกระทุ่มแบนเลย คนรุ่นหลังๆ อย่างผมจึงไม่คุ้นนั่นเอง              หนังสือเล่มนี้ผมได้รับความเมตตาจาก อาจารย์ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ นายกสมาคมจดหมายเหตุไทย หรืออาจารย์อ้วนที่ผมเคารพนับถือ ได้อนุเคราะห์มอบให้ด้วยทราบว่าผมเก็บรวบรวมสะสมภาพ ข้อมูล ประวัติเกี่ยวกับกระทุ่มแบน              หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ขนาดราว 17x10 เซ็นติเมตร ปกแข็งบุนวมเดินทอง เนื้อหาส่วนต้นเป็นประวัติผู้วายชนม์ ส่วนหลังเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพิธีการบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนา             ใน ประวัติขุนพิทักษ์ชลาศัย (พิทักษ์ คเชนทร์ชัย) มีดังนี้ครับ             ขุนพิทักษ์ชลาศัย (นามเดิม พิทักษ์ คเชนทร์ชัย) เป็นบุตรของ ขุนกระทุ่มแบนบริบาล (อุ่น คเชนท

นายเชาวน์ สุทธิบุตร คนกระทุ่มแบน ผู้ไปเปิดธนาคารแห่งแรกที่ดำเนินสะดวก

            ผมตั้งใจว่านอกเหนือจากข้อมูลที่สืบค้นและปะติดปะต่อ ทั้งจากหนังสือต่างๆ และการสัมภาษณ์คนกระทุ่มแบนในพื้นที่แล้ว ก็อยากจะนำข้อมูลประวัติคนกระทุ่มแบน หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนกระทุ่มแบนจากหนังสืออนุสรณ์งานศพต่างๆ หนังสือที่ระลึกต่างๆ มาพิมพ์โดยสรุป หรือคัดลอกส่วนประวัติ มาพิมพ์เผยแพร่ไว้ เพื่อเป็นต้นทุนในการสืบสาวราวเรื่องบุคคล และประวิัติศาสตร์ของกระทุ่มแบนต่อไป โดย ขอเริ่มจากเล่มนี้ที่สุ่มหยิบมาจากชั้นหนังสือที่สะสมไว้ มานำเสนอให้ได้อ่านกันครับ นายเชาวน์ สุทธิบุตร เกิดเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2454 ที่บ้านนครชัยศรี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรของนายลี นางบุญรอด มีพี่น้องรวม 8 คน คือ           นางกี เฟื่องมณี นายเชาวน์ สุทธิบุตร นางล้วน อยู่สมบูรณ์ นางประทิน (เง็ก) เสียงแจ้ว นายเกษม (เส็ง) สุทธิบุตร นายสั่ง สุทธิบุตร นางอำนวย บุญประคอง นางอำไพ           ได้เรียนหนังสือที่วัดนางสาว อำเภอกระทุ่มแบนจังหวัดสมุทรสาคร และบวชที่วัดนางสาว แต่ไปจำพรรษาที่วัดกลางบางแก้ว หลังจากลาอุปสมบทแล้วได้ไปประกอบอาชีพเดินเรือประจำทางอยู่ที่อำเภอดำเนินสะดวก และได้สมรสกับนางสาวนิภา ภู่ศิร

"ลุงแดง" กับคานเรือแห่งแรกและแห่งสุดท้ายในกระทุ่มแบน

                ผมได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ลุงแดงมาตั้งแต่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562 กลับมาถอดเทป เรียบเรียงอยู่นานแล้วก็ติดธุระนู่นนี่นั่น จึงไม่ได้มาทำต่อ เรื่องราวความรู้ที่คุณลุงแดงกรุณาถ่ายทอดให้ฟัง ก็จะมาเก็บดองอยู่ที่ผมเพียงคนเดียวไม่มีประโยชน์ และตอนนี้ก็ถึงเวลาที่ควรเร่งมือเพื่อเผยแพร่เป็นความรู้ต่อไปครับ ลุงแดง แห่งคานเรือกระทุ่มแบน                 ลุงแดง หรือ นายเทียนชัย บานแย้ม เป็นชาวกระทุ่มแบนโดยกำเนิด เกิดเมื่อ พ.ศ. 2495 อายุ 67 ปี (เมื่อ 2562) จบการศึกษา ป.7 จากโรงเรียนศรีบุณยานุสรณ์ ไปต่อมัธยมศึกษาที่โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ จบรุ่นที่ 2 แล้วก็ไปเรียนที่พระนครเหนือ หลังจากนั้นก็ไปเรียนที่วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                 ตอนที่เรียนที่กรุงเทพฯ ไปอาศัยพักกับ "พี่พงษ์" หรือ พลโท สมพงษ์ ตุ้มสวัสดิ์ เป็นทหารชาวกระทุ่มแบน อยู่ที่ย่านสะพานมัฆวาน กำเนิดคานเรือกระทุ่มแบนพาณิชย์                  สมัยเตี่ยใช้ชื่อว่า “กระทุ่มแบนพาณิชย์” (ปัจจุบันเป็นชื่อร้านของพี่ชายลุงแดง) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “คานเรือกระทุ่มแบนพาณิชย์”  และปัจจุบันใช้ชื่อว่า “คานเรือกระทุ่มแบน”

ประวัติ นายเล็ก พารักษา ชาวกงสีล้ง (ท่าไม้) กระทุ่มแบน

  ระหว่างค้นหนังสือประวัติคนกระทุ่มแบนท่านหนึ่งให้รุ่นพี่ที่กระทุ่มแบน ก็เปิดมาพบหนังสือเล่มนี้อีกครั้ง อดที่จะหยิบมาพลิกอ่านประวัติอีกครั้งไม่ได้ เพราะคุ้นๆ ว่าเคยจะนำประวัติมาพิมพ์ลงในเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้ และอาจเป็นประโยชน์กับรุ่นลูกหลานหรือญาติพี่น้องที่กำลังสืบหาประวัติบรรพบุรุษกันอยู่ ในประวัติทำให้นึกถึงชื่อ กงษีล้ง (สะกดตามหนังสืออนุสรณ์ต้นฉบับ) / กงสีล้ง ที่ผมเองเคยได้ยินคุณยายและม่กล่าวถึงอยู่เวลาถามถึงประวัติเก่าๆ เลยต้องจดโน๊ตเอาไว้ เพื่อค้นประวัติกันต่อ หนังสือเล่มนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากพี่ธนะ บุญศิริ นักสะสมหนังสือที่ผมเคารพมากๆ อีกท่านหนึ่ง ได้กรุณามอบให้ไว้ เมื่อ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๓  ตัวเล่มมีขนาดประมาณ ๑๓ x ๑๙ เซ็นติเมตร หน้าประมาณ ๓๐ กว่าหน้า เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเจริญคุณบิดามารดา และ ธรรมภาษิต รวมถึงบทสวดมนต์บางบท พิมพ์ที่บริษัท กิมหลีหงวน จำกัด หรือโรงพิมพ์สมัยนิยม ซึ่งผมทราบคร่าวๆ มาว่าเจ้าของเป็นคนกระทุ่มแบนเช่นกัน เอาไว้ต้องตามค้นประวัติกันต่อไปในคราวหน้า ส่วนประวัติของผู้วายชนม์ ผมขอคัดลอกมาตามต้นฉบับ (ยกเว้นการพิมพ์อักษรย่อ จังหวัด อำเภอ ตำบล ซึ่งมีการ