ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2021

พระครูนิเทศสาครธรรม (หลวงพ่อเล้ง จนฺทสุวณฺโณ)

คงมีบางอย่างดลใจให้แอดมินได้พบกับหนังสือเล่มนี้ที่เดินทางไกลมาจากเชียงใหม่ หลังจากคุยกับแฟนเพจท่านที่สอบถามเกี่ยวกับเรื่องวัดนางสาวเข้ามาผ่านทางแชต โดยช่วงหนึ่งมีการกล่าวถึงประวัติหลวงพ่อเล้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดนางสาว อยู่ดีๆ วันรุ่งขึ้นแอดมินก็ได้พบกับหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญ จึงนำหน้าปกมาให้ชม พร้อมกันนี้ได้ทำสรุปประวัติคร่าวๆ หลวงพ่อเล้ง ให้ได้อ่านกันพอสังเขป ส่วนรูปถ่ายท่านคงน่าจะพอมีคนกระทุ่มแบนที่เก็บไว้ แต่แอดมินต้องขอไปสืบค้นก่อนครับ เล่มนี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ ในงานพระราชทานเพลิงศพท่าน โดยมีขุนสุคนธวิทศึกษากรเป็นประธานจัดงาน มีนายอำเภอและบุคคลในกระทุ่มแบนเขียนบทความในเล่มนี้ ปกหลังระบุว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ศรีการช่าง ตลาดกระทุ่มแบน สมุทรสาคร นายชลอ ศรีสุกใส ผู้พิมพ์โฆษณา ประวัติโดยสรุปย่อ พระครูนิเทศสาครธรรม (หลวงพ่อเล้ง จนฺทสุวณฺโณ) ▪️ นามเดิมชื่อ เล้ง นามสกุล ไร่ผล ▪️ เกิด ๔ กรกฎาคม ๒๔๒๔ ที่บ้าน ต.ดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ▪️ เป็นบุตรลำดับที่ ๔ ในจำนวนบุตรทั้งหมด ๗ คน ▪️ มารดาชื่อนางเย็น ไร่ผล, บิดาชื่อนายบุญมา ไร่ผล ▪️ พ.ศ. ๒๔๕๐ อายุ ๒๖ ปี อุปสมบทที่วัดนางสาว มีหลวงพ่อแสง

สมุทรสาคร ในนิตยสารภาพข่าวสยามนิกร รายสัปดาห์ พ.ศ. 2496

ผมมีนิตยสารเก่าที่ชื่อว่า "ภาพข่าวสยามนิกรรายสัปดาห์" อยู่ 2 เล่มที่เก็บสะสมไว้ จากการซื้อหาจากพ่อค้าหนังสือเก่า ทั้ง 2 เล่ม ตีพิมพ์ในเดือน มกราคม และ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496   ในระหว่างที่ลองพลิกดูเนื้อหาภายในเล่มก็สะดุดตากับภาพถ่าย สมุทรสาคร ที่ได้รับการตีพิมพ์อยู่ในคอลัมน์ "รอบอาณาจักร" ซึ่งเป็นการรวมภาพถ่ายจากจังหวัดต่างๆ ที่ผมเข้าใจว่าผู้อ่านคนไหนที่พอจะมีฝีไม้ลายมือในการถ่ายภาพน่าจะถ่ายภาพแล้วเขียนคำบรรยายส่งเข้าไปที่นิตยสาร ภาพแรก ถ่ายโดยคุณชวลิต จันทกาญจน์ พร้อมคำบรรยายภาพว่า "ถนนเศรษฐกิจ" ทางหลวงสายใหม่สู่พระนคร ภายในภาพเป็นบรรยากาศช่วงหนึ่งของถนนเศรษฐกิจ แต่ไม่ทราบว่าอยู่บริเวณไหน มองเห็นป่ายชื่อถนนที่ระบุว่า "ถนนเศรษฐกิจ 1" ซึ่ง ถนนเศรษฐกิจ 1 เป็นเส้นที่เชื่อมแยกจากถนนเพชรเกษมที่ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แยกไปทางซ้ายที่สามแยกกระทุ่มแบน ผ่านทางต่างระดับกระทุ่มแบน บรรจบกับถนนพุทธสาคร (ทางหลวงชนบท สค.4018) ในปัจจุบันแยกไปทางขวา เข้าสู่เขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร ผ่านทางแยกต่างระดับมหาชัย ตัดกับถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงแผ่นดินห

พิธีเปิด เอามื้อสามัคคี โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน ณ บ้านโต้ล้ง

วันนี้ได้อ่านโพสต์ในเฟซบุ๊กของคุณอาปรีชา ฐินากร ที่ไปเก็บภาพข่าว พิธีเปิด "เอามื้อสามัคคี โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน" ย่านโต้ล้ง คุณอาปรีชา ได้บรรยายถึงพิธีเปิดพร้อมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับที่มาของ "บ้านโต้ล้ง" ไว้อย่างน่าสนใจ และเชื่อว่า เด็กรุ่นใหม่ๆ  หลายคน หรือแม้แต่ตัวผมเองก็ยังไม่เคยได้ฟังข้อมูลนี้ จึงได้ติดต่อขออนุญาตคุณอาปรีชา เพื่อนำรูปและ ข้อมูลมาเผยแพร่ เป็นประโยชน์ต่อไป ดังนี้ครับ พิธีเปิด "เอามื้อสามัคคี โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน" 3 ธันวาคม 2564 เวลา 9.00 น. นายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานเปิด ณ บ้านโต้ล้ง หมู่ 2 ต.สวนหลวง มีนายบรรพต จันทรวงค์ นายอำเภอ, นายก้องเกียรติ มาลี กำนัน, นายเสริมศักดิ์ กุศลใบบุญ ผู้ใหญ่บ้าน และนายบรรจง เบี้ยวบังเกิด เจ้าของพื้นที่และภาคีเครือข่ายการพัฒนาชุมชน ร่วมพิธี   นายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ประธานพิธีเปิดกล่าวว่า  เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน ผ่านกิจกรรมการพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตร

สุสานสีบุญเรือง และ มูลนิธิสีบุญเรือง ริมคลองภาษีเจริญ กระทุ่มแบน

เมื่อหลายวันก่อน คุณอาไพบูลย์ สำราญภูติ คนกระทุ่มแบนผู้มีชื่อเสียงด้านการตลาด ที่ผมได้มีโอกาสรู้จักกันมาหลายปี ได้คอมเมนต์สอบถามถึงเรื่องประวัติของสุสานสีบุญเรืองมาในเฟซบุ๊กส่วนตัวของผม ประจวบกับความคิดดั้งเดิมที่เคยจะเขียนถึงเรื่องนี้อยู่เป็นทุนเดิมแล้ว แต่ข้อมูลอาจยังไม่ครบถ้วนในทุกด้าน ผมเลยได้แต่ผัดวันประกันพรุ่งออกไปก่อน แต่เมื่อลองไตร่ตรองให้ดีแล้วพบว่า ข้อมูลบางเรื่องไม่ต้องสมบูรณ์หมดจดก็ได้ ขอแค่เขียนออกมาให้ครบถ้วนถูกต้องเท่าทีมีก่อนเพราะถ้ามัวแต่รอก็ไม่ได้เขียนเสียที ที่สำคัญเมื่อเขียนเผยแพร่ออกมาแล้ว น่าจะมีผู้รู้หลายท่านมาช่วยกันเติมเต็มข้อมูลในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กแบบทุกวันนี้ก็เป็นได้  หากกล่าวถึง สุสานสีบุญเรือง ในความทรงจำของผม คือ ภาพป้ายสุสานที่ตั้งอยู่ริมคลองภาษีเจริญ ซึ่งผมมองเห็นอยู่หลายครั้ง เมื่อคราวใช้บริการเรือหางยาวจากกระทุ่มแบนไปหนองแขม หรือหนองแขมมากระทุ่มแบน แต่ด้วยความเป็นเด็กจึงไม่ได้สนใจอะไรมากนัก เพียงแต่ทราบว่ามีความเกี่ยวพันกับตระกูลสีบุญเรืองเป็นแน่แท้  คนกระทุ่มแบนจำนวนไม่น้อย น่าจะรู้จักสกุลสีบุญเรือง จากเมื่อครั้งทายาทตระกูลสีบุญเรือง ได้จัดสร้

ประวัติ "ครูฮวด" หรือ "นายบุญนาค แสงลออ" ครูผู้ก่อตั้งโรงเรียนสุระวิทยาที่วัดดอนไก่ดี

          ประวัติของครูฮวดนี้ ผม พิมพ์ตามตัวอักษรต้นฉบับ ในหนังสือ "ไตรวุฒิ" เจริญ ๓ ประการ โดย ขุนพิสิฐนนทเดช (บุญมี มกรเสน) พิมพ์อุทิศสนองคุณ แด่ นายฮวด แสงลออ ผู้เป็นครู ในการฌาปนกิจที่วัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ยกเว้นการจัดย่อหน้าที่ต่างจากต้นฉบับเพื่อให้อ่านได้สบายตาขึ้น ประวัติโดยย่อ นาย ฮวด แสงลออ (หรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า คุณครูฮวด) ชาตะ วันอาทิตย์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๙ ได้รับการศึกษาเล่าเรียนจากโรงเรียนนวลนรดิศ ในคลองบางหลวง อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนี้แล้ว จึงลาออกประกอบอาชีพส่วนตัว และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ในระหว่างที่ท่านอุปสมบทอยู่นั้น ได้มีจิตต์ศรัทธาตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นที่วัดดอนไก่ดี ด้วยความคิดอ่านและความพากเพียรของท่านเองจนบรรลุผลสำเร็จ และขนานนามโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนสุระวิทยา" ท่านทำการสั่งสอนด้วยตนเอง มีศิษย์ที่รับการศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก ได้ทำการสอนอยู่ถึง ๔ พรรษาจึงลาสิกขาบท  เมื่อเป็นฆราวาสแล้ว ท่านก็ยังเป็นครูสอนอยู่อี

อนุสรณ์การฌาปนกิจ นายฮวด แสงลออ

"ไตรวุฒิ" เจริญ 3 ประการ ขุนพิสิฐนนทเดช (บุญมี มกรเสน) พิมพ์อุทิศสนองคุณ  แด่  นายฮวด แสงลออ ผู้เป็นครู ในการฌาปนกิจ ที่วัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ชื่อเรื่อง : "ไตรวุฒิ" เจริญ ๓ ประการ ชื่อเรื่องอื่นๆ : ขุนพิสิฐนนทเดช (บุญมี มกรเสน) พิมพ์อุทิศสนองคุณ แด่ นายฮวด แสงลออ ผู้เป็นครู ในการฌาปนกิจที่วัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 คำสำคัญ : นายฮวด แสงลออ, ขุนพิสิฐนนเดช, โรงเรียนสุรวิทยา, วัดนวลนรดิศ, วัดดอนไก่ดี, วัดบางนกแขวก คำบรรยาย : ประวัติผู้วายชนม์, ภาพผู้วายชนม์, "ไตรวุฒิ" เจริญ 3 ประการ ของ พระศาสนโสภน อุฏฐายี วัดมกุฏกษัตริยาราม ผู้ตีพิมพ์ / โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาดไทย, นายแถม สาครวาสี ผู้พิมพ์โฆษณา 22 มี.ค. 2493 จำนวนหน้า : 29 หน้า สารบัญ / หัวเรื่องเนื้อหา : - คำนำ โดย พระศาสนโสภน วัดมกุฏกษัตริยาราม - ประวัติผู้วายชนม์ - ภาพผู้วายชนม์ - ไตรวุฒิ" เจริญ 3 ประการ ของ พระศาสนโสภน อุฏฐายี วัดมกุฏกษัตริยาราม                                          

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนพิสิฐนนทเดช

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ  ขุนพิสิฐนนทเดช ณ เมรุวัดโสมนัสวรวิหาร 15 พฤษภาคม 2521 ชื่อเรื่อง : ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนพิสิฐนนทเดช ณ เมรุวัดโสมนัสวรวิหาร 15 พฤษภาคม 2521 ชื่อเรื่องอื่นๆ : - คำสำคัญ : คนผัดหมี่, เสด็จประพาสต้น, นักเรียนวัด, ล็อค, ประตูน้ำ, แป๊ะกง, การเศรษฐกิจ พ.ศ. 2450, ผู้จัดการสถานกาแฟนรสิงห์, ครูฮวด แสงละออ, เสรีไทย, วัดพิสิฐบูรณาราม (นครราชสีมา), สนามบินลับที่คลองไผ่ นครราชสีมา, สงครามโลกครั้งที่ 2, นักโทษชาวจีน, คุกไทย, เรือนจำไทย, บุญมี มกรเสน, กรมราชทัณฑ์ คำบรรยาย : ประวัติผู้วายชนม์, ภาพผู้วายชนม์ในช่วงต่างๆ, บันทึกความจำ ชีวประวัติ, ผลงานผู้วายชนม์, คำไว้อาลัย, สรรพคุณยาจินดามณี, สมุนไพรน่าใช้, นามานุกรมสมุนไพร ผู้ตีพิมพ์ / โรงพิมพ์ : มงคลการพิมพ์ บางลำภู กรุงเทพฯ จำนวนหน้า : 112 หน้า สารบัญ / หัวเรื่องเนื้อหา : - บันทึกความจำ ชีวประวัติ ของขุนพิสิฐนนทเดช - ฝันร้ายของข้าพเจ้า / นาวาเอก พระยาศราภัยพิพัฒน์ ร.น. (เลื่อน ศราภัยวานิช) - บันทึกการเสรีไทย ทำสนามบินลับและฝึกอาวุธ สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา / ขุนพิสิฐนนทเดช (บุญมี มกรเส

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอาทรธรรมนิเทสก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป) อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าเสา

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ  พระครูอาทรธรรมนิเทสก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป) ณ เมรุวัดท่าเสา อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร  วันที่ 21 เมษายน 2545 ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอาทรธรรมนิเทสก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป) ชื่อเรื่องอื่นๆ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอาทรธรรมนิเทสก์ (ทองอยู่ อตฺตทีโป) วันที่ 21 เมษายน 2545 คำสำคัญ : พระครูอาทรธรรมนิเทสก์, เจ้าอาวาสวัดท่าเสา, เจ้าคณะตำบลท่าเสา, หลวงพ่อทองอยู่, โชตะมังสะ, ขุนศรีบรรณสาร, ท่าไม้, พระครูถาวรสมณศักดิ์ (หลวงพ่อคง) วัดหงอนไก่, พระเพี้ยน จฺนทสโร วัดนางสาว พระสุนทร คุณชารี วัดนางสาว, วัดท่าเสา (อาทรราษฎร์อุปถัมภ์), ถนนท่าเสาวัฒนา,  คำบรรยาย : ประวัติผู้วายชนม์, ผลงานผู้วายชนม์, คำไว้อาลัย, สรรพคุณยาจินดามณี, สมุนไพรน่าใช้, นามานุกรมสมุนไพร ผู้ตีพิมพ์ / โรงพิมพ์ : วัดบางยาง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร จำนวนหน้า : 73 หน้า สารบัญ / หัวเรื่องเนื้อหา : ประวัติผู้วายชนม์, ผลงานผู้วายชนม์, คำไว้อาลัย, สรรพคุณยาจินดามณี, สมุนไพรน่าใช้, นามานุกรมสมุนไพร                                          

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายทวีชัย เทียนจวง

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ  นายทวีชัย เทียนจวง เป็นกรณีพิเศษ ณ เมรุวัดดอนไ่ก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2540 ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายทวีชัย เทียนจวง ชื่อเรื่องอื่นๆ : - คำสำคัญ : เทียนจวง, แซ่อึ๊ง, นิยะบุญ, บ้านตึกหลังแรกตลาดกระทุ่มแบน, รองประธานห้องสมุดประชาชนเลี่ยงฮั้ว,กรรมการบริหารโรงเจเชี่ยงซื่วตั๊ว(วัดดอนไก่ดี) , กรรมการมูลนิธิวิเศษสมุทคุณ, ลูกเสือชาวบ้าน คำบรรยาย : ประวัติผู้วายชนม์, คำขอบคุณจากบุตร ธิดา และหลาน, ยอดพระกัณฑ์พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ พระคาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และพระคาถาพิเศษบางบท ผู้ตีพิมพ์ / โรงพิมพ์ : บริษัท ศรีอนันต์การพิมพ์ จำกัด จำนวนหน้า : ประมาณ 50 หน้า สารบัญ / หัวเรื่องเนื้อหา : ประวัติผู้วายชนม์, คำขอบคุณจากบุตร ธิดา และหลาน, ยอดพระกัณฑ์พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ พระคาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และพระคาถาพิเศษบางบท                                          

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี ขุนสุวัฒน์วิตรการ (เฉื่อย ขำสุวัฒน์)

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ  รองอำมาตย์ตรี ขุนสุวัฒน์ วิตรการ (เฉื่อย ขำสุวัฒน์)  ณ เมรุวัดตึกชยาราม จ.สมุทรสาคร วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2502 ชื่อเรื่อง : หน้าที่ "รู้จักหน้าที่ ทำตามหน้าที่ จะเกิดศักดิ์ศรี ทั้งทางโลกทางธรรม คติพจน์ของ ท่านเจ้าคุณ พระสิริชัยมุนี เจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค 7 วัดพระปฐมเจดีย์ ชื่อเรื่องอื่นๆ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี ขุนสุวัฒน์ วิตรการ (เฉื่อย ขำสุวัฒน์) ณ เมรุวัดตึกชยาราม จ.สมุทรสาคร วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2502 คำสำคัญ : พระครูสมุทรคุณากร (นิล), เสมียนสรรพากรอำเภอเมือง, สมุหบัญชีอำเภอกระทุ่มแบน, บางปลาม้า, บางเลน, นครชัยศรี, เมืองนครปฐม, ผู้ช่วยคลังจังหวัดสมุทรสาคร คำบรรยาย : ประวัติผู้วายชนม์, คำไว้อาลัย, ประกวดบทความเรื่องรู้จักหน้าที่-ทำตามหน้าที่ ผู้ตีพิมพ์ / โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์การศาสนา พระนคร นายทรงวุฒิ วโรภาส ผู้พิมพ์โฆษณา จำนวนหน้า : 43 หน้า สารบัญ / หัวเรื่องเนื้อหา : ประวัติผู้วายชนม์, คำไว้อาลัย, ประกวดบทความเรื่องรู้จักหน้าที่-ทำตามหน้าที่                                          

"คนผัดหมี่" คือใครในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น (ร.ศ. 123) ช่วงผ่านกระทุ่มแบน

          หลังจากที่เคยตั้งคำถามกับตัวเองและผู้ที่สนใจไว้เมื่อราว 2 ปีก่อน ตามลิงก์นี้แล้วนั้น https://www.kratoom.net/2019/06/blog-post.html           หนึ่งในคำถามก็มีจากวรรคนี้ในพระราชนิพนธ์ "....ดูนายอัษฎาวุธท่าจะออกหิว จึงชวนกันขึ้นบกเดินไปเที่ยวซื้อข้าวแกงกินที่ตลาดบ้านกระทุ่มแบน ไปเจอคนผัดหมี่ดี คุยว่ารู้จักคุ้นเคยกับเจ้าคุณเทศผ่านมาเป็นต้องแวะกินหมี่เสมอ...."           "คนผัดหมี่" คือใครกัน           ผมตามไถ่ถามคนเก่าแก่ในพื้นที่หลายครั้งหลายหน แต่ไม่มีใครทราบ ไม่มีใครได้รับการเล่าต่อจากบรรพบุรุษมาเลย จนคิดว่าไม่น่าจะได้คำตอบแล้ว           เมื่อสองวันก่อนรู้สึกหวิวกับข่าวการเสียชีวิตของน้าค่อม และผู้ติดเชิ้อโควิด 19 จึงเดินไปสุ่มๆ หาหนังสือบนชั้นกระทุ่มแบนที่สะสมไว้มาพลิกอ่านเล่น จนมาพบหนังสืออนุสรณ์ "ขุนพิสิฐนนทเดช" ซึ่งได้มาหลายเดือนแล้วแต่ยังไม่ได้อ่านละเอียด พออ่านไปสักพักก็พบกับคำตอบ ที่น่าจะเชื่อได้ว่าคนผัดหมี่คือใคร ขุนพิสิฐนนทเดช เมื่อครั้งเป็นนายหมู่ตรีเสือป่าพรานหลวง ร.อ. อายุ 20 ปี  "ขุนพิสิฐนนทเดช" (บุญมี มกรเสน)           ในบั

หลวงขาณุบุรินทร์โยธี (อ้น ทองเอกลาภ) คนท่าเสา กระทุ่มแบน

เจดีย์บรรจุอัฐิ หลวงขาณุบุรินทร์โยธี (อ้น ทองเอกลาภ) ภรรยา และญาติ           ย้อนกลับไปเกือบ ๔ ปีก่อน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ มิ.ย. ๒๕๖๐ ผมไปเดินหาข้อมูลเรื่องเก่าๆ ย่านวัดท่าเสา กระทุ่มแบน เดินไปเรื่อยเปื่อย ถ่ายรูปบริเวณในวัด เดินผ่านเจดีย์บรรจุอัฐิที่มีทั้งเก่าใหม่รูปร่างแปลกแตกต่างกันไป ระหว่างนั้นก็ได้ไล่อ่านชื่อตามฐานเจดีย์ควบคู่ไปด้วยบางชื่อ บางนามสกุล ไม่เคยทราบหรือคุ้นมาก่อนว่าเป็นคนในย่านกระทุ่มแบน เลยถ่ายภาพเผื่อมาหาข้อมูลเพิ่มเติม และใช้เป็นข้อมูลประกอบอื่นๆ ในอนาคต ผมสะดุดตากับชื่อหนึ่งซึ่งน่าสนใจ คือ หลวงขาณุบุรินทร์โยธี (อ้น ทองเอกลาภ) ด้วยความที่ผมอ่านหนังสือไม่เยอะมาก เบื้องต้นจึงค้นหาผ่านระบบออนไลน์พบข้อมูลที่สรุปจาก บันทึกความทรงจำชีวิตในต่างประเทศ ภาคต้น พระนิพนธ์ในพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงมยุรฉัตร โดยมีช่วงหนึ่งระบุไว้ว่า "หลวงขาณุบุรินทร์โยธีปลัดกรมของกรมพระกำแพงฯ อีกคนหนึ่งที่มีโอกาสตามเสด็จต่างประเทศ เจ้านายทุกพระองค์รู้จักในนามว่า นายอ้น นายอ้นต้องสะพายกล้องถ่ายรูปถ่ายหนังหลายอันจนเต็มบ่าทั้งซ้ายขวา บางคราวมองเห็นแต่หมวกกับรองเท้าส่วนตรงกลางตัวบรรทุกสัมภ