ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มีใครให้เลือกบ้าง....ที่กระทุ่มแบน : เลือกตั้ง 24 มี.ค. 62

มีใครให้เลือกบ้าง....ที่กระทุ่มแบน : เลือกตั้ง 24  มี.ค. 62

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม นี้แล้วที่พวกเราจะได้ออกไปใช้สิทธิ์ ใช้เสียง ในการเลือกคนดีที่ตรงกับความต้องการของเราเข้าไปเป็นตัวแทนในสภา

แต่ทว่ายังมีอีกหลายคน รวมถึงตัวผมเองที่ยังไม่ทราบอย่างครบถ้วนว่ามีใครที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้บ้าง

ผมเองลองค้นหาจากเว็บต่างๆ ก็มีข้อมูลอยู่มากพอสมควร จึงรวบรวมรายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เฉพาะในพื้นที่อำเภอกระทุ่มแบนมาให้ทุกท่านได้เก็บเป็นข้อมูลพิจารณาเบื้องต้นกันครับ

ในสมุทรสาครมีการแบ่งพื้นที่เลือกตั้งออกเป็น 3 เขต
อ.กระทุ่มแบน กินรวมพื้นที่อยู่ใน 2 เขต นั่นคือเขต 2 และเขต 3  ซึ่งแบ่งแตกต่างกันไปในแต่ละตำบล

ทั้งนี้ท่านสามารถตรวจสอบได้จากเว็บ https://elect.in.th/candidates/ ซึ่งมีการดึงฐานข้อมูลมาจาก กกต.
เพียงแค่กรอกรหัสไปรษณีย์ในพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่ก็จะปรากฏข้อมูลขึ้นมาว่าอยู่เขตไหน ตำบลอะไร มีผู้สมัคร สส. ให้เราเลือกกี่คน พรรคอะไรบ้าง



นอกจากนี้ผมยังได้นำภาพและรายชื่อผู้สมัครในพื้นที่กระทุ่มแบน ทั้ง 2 เขต มารวมไว้ให้ด้านล่างครับ
(กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่)








อย่าลืมออกไปใช้สิทธิ์ ใช้เสียง ในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ วันอาทิตย์ 24 มีนาคม 2562 นี้นะครับ ^^



โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วัดนางสาวมีโบสถ์ มหาอุด หรือ มหาอุตม์ เขียนแบบไหน?

โบสถ์มหาอุด วัดนางสาว ถ่ายเมื่อ 1 ม.ค. 2562 คงเป็นเรื่องเหลือเชื่อถ้าบอกว่าเป็นคนกระทุ่มแบนแต่ไม่รู้จักวัดนางสาว เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนา มีตำนานเรื่องเล่ามากมายหลากหลายเรื่อง รวมถึงโบสถ์อันศักดิ์สิทธิ์และพิเศษกว่าหลายๆ โบสถ์ของวัดในเมืองไทย ส่วนประวัติวัดนางสาว และเรื่องราวประกอบอื่นๆ ผมคงได้รวบรวมข้อมูล ประวัติต่างๆ เพื่อเขียนให้ได้อ่านกันในบทความถัดๆ ไป ในตอนนี้ขอกล่าวถึง โบสถ์หรืออุโบสถที่วัดนางสาว  อายุเก่าแก่กว่า 400 ปี ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพาไลหรือพะไลยื่นออกมา 1 ห้อง (พาไลหรือพะไล แปลว่า เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน)  มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคาจำนวน 4 ต้น ช่อฟ้าใบระกาเป็นปูนปั้นประดับกระจก ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูเข้าออกด้านหน้าเพียงประตูเดียว ไม่มีหน้าต่าง ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมใหม่โดยปูหินอ่อนภายใน มีลายจิตรกรรมฝาผนัง ด้านผนังนอกมีการปรับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาที่มี

ชื่อ "กระทุ่มแบน" มาจากไหน

"บ้านน้องอยู่ที่ไหนนะ?" "กระทุ่มแบนครับ" "แล้ว กระทุ่มแบน เนี่ย ทำไมมันถึงชื่อนี้?" "อืม..ไม่แน่ใจ...ไม่ทราบเลยครับ" เชื่อได้ว่าคนกระทุ่มแบนหลายคนคงจะคุ้นเคยกับบทสนทนาประมาณข้างต้น ที่ตอบได้เพียงคำถามแรก แต่เมื่อถึงคำถามที่สอง เซลล์สมองอาจต้องวิ่งทำงานเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายบางคนตอบได้ บางคนเดาไป บางคนถามกลับว่า "อยากจะรู้ไปทำไม" สำหรับผมแล้ว... "กระทุ่มแบน...ทำไมมันถึงชื่อนี้" มันเป็นคำถามที่ค้างคาใจมาหลายปี จนกระทั่งวันที่พอจะมีกำลังและเวลา รวมถึงความพร้อมประกอบอื่นๆ ทำให้ได้ออกค้นหาคำตอบเสียที ภาพแผนที่ตัดเฉพาะส่วนจากกรมแผนที่ทหารบกสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2456 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เปิดตำนาน "ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่มแบน"

หากค้นรูปถ่ายติดบัตรขาวดำเก่าๆ ยุค 2500 ที่บ้านของคนกระทุ่มแบนขึ้นมาดู ผมเชื่อว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของรูปถ่ายเหล่านั้น บนมุมซ้ายหรือขวาด้านล่างของรู ปจะต้องมีตราประทับแบบนูนของร้ านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านที่นิยมและได้รั บความไว้วางใจจากชาวกระทุ่ มแบนมาอย่างยาวนาน นั่นคือ "ห้องภาพชูศิลป์ : ร้านถ่ายรูปแห่งแรกของกระทุ่ มแบน" หลังจากหาเวลานัดหมายกับห้องภาพชูศิลป์ ให้จังหวะลงตัวกับวันที่ ผมพอจะว่างจากทั้ งงานประจำและงานพิเศษในวันหยุ ดเสาร์-อาทิตย์เรียบร้อย ผมจึงได้มีโอกาสฟังเรื่องราวดีๆ จากทายาทผู้ก่อตั้ง "ห้องภาพชูศิลป์" ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" ลูกสาวคนโตของเจ้าของห้องภาพชูศิลป์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2492 ได้บอกเล่าให้ผมได้ฟังด้วยรอยยิ้ มอารมณ์ดีถึงประวัติห้องภาพชูศิลป์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในรุ่นของคุ ณพ่อและคุณแม่  คุณพ่อมีลูก 5 คน คือ คุณป้าเป็นคนโต มีน้องชาย 3 คน และน้องสาวคนเล็กอีกคน   คุณพวงเพ็ญ โภคฐิติยุกต์ หรือ "ป้าเช็ง" จุดเริ่มต้นของอาชีพถ่ายภาพ คุณแม่ป้าเช็งชื่อ &quo